วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

 

              ใช้วิธีการ  ที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน  (Search engine)  ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ  การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์  คำสำคัญ  หรือ  คีย์เวิร์ด  (Key Word)  เข้าไปในช่องที่กำหนด  แล้วคลิกที่ปุ่ม  SEARCH  หรือ  GO  โปรแกรมค้นหาจะเริ่มทำงาน  การแสดงผลการค้นหาจะแสดงชื่อเว็บไซต์  URL  และมักจะแสดงสาระสังเขปของเว็บไซต์นั้นๆ  ด้วย  เพื่อช่วยให้ผู้คนหา สามารถตัดสินใจในเบื้องต้น ว่าเว็บไซต์นั้นมีข้อมูลที่ต้องการหรือไม่ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลจำเป็นจำนวนมาก  บางครั้งเซิร์จเอ็นจิน  จะพบข้อมูลข้อมูลนับพันนับหมื่นรายการ  ซึ่งทำให้เสียเวลากลั่นกรองหาข้อมูลที่ต้องการจริงๆ  เซิร์จเอ็นจิน  บางตัวจะมีระบบค้นหาที่ละเอียดขึ้น เรียกว่า  แอดวานซ์เชิร์จ  (Advanced search  หรือ  Refined search)  โดยให้ผู้ค้นหาสามารถระบุเงื่อนไขได้  เช่น  หากจะค้นหาโดย ใช่คีย์เวิร์ด  “e-commerce”  อาจจะค้นพบเป็นหมื่นรายการ  แต่ถ้าคีย์เวิร์ด  “e-commerce  in  Thailand”  อาจค้นพบเป็นร้อย  และถ้าใช้คีย์เวิร์ด  “e-commerce  in  Thailand  AND  NOT  handicraft”  ก็อาจค้นพบน้อยลงเหลือไม่กี่รายก็เป็นได้  วิถีการดังกล่าว  เรียกว่าการ  การกรอง  (Filter)  ซึ่งอาศัยการตั้งเงื่อนไขเชื่อมโยงกันด้วยคำที่เป็น  Boolean Operators  ได้แก่  คำว่า  AND, OR, NOT ทำให้มีผลเท่ากับการเลือกเงื่อนไขแบบใช่ทั้งหมด  ใช้บางส่วนหรือไม่ใช้บางเงื่อนไข  วิธีจะพบโปรแกรมค้นหาส่วนมาก  ผู้แต่งใช้โปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมอาจสับสน  เพราะแต่ละโปรแกรมจะมีวิธีการกำหนดการกำหนดให้พิมพ์เงื่อนไขต่างกัน  เช่น  บางโปรแกรมให้ใช้เครื่องหมายบวก (+)  แทน  AND  แต่บางโปรแกรมอาจใช้เครื่องหมายเดียวกันแทน  OR  เป็นต้น  ผู้ใช้จึงต้องศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละโปรแกรม

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7

 

         1.  จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ว่ามีกี่ประเภท

          2.  อินทราเน็ต (Intranet) หมายความว่าอย่างไร

          3.  จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

          4.  จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ google พอสังเขป

          5.  Digital library หมายความว่าอย่างไร

          6.  จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา

แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

            เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  ที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลกเชื่อมโยงกันจำนวนมาก  เครื่องแม่ข่ายแต่ละเครื่องมีข้อมูลข่าวสารบางอย่างบางประเภทบรรจุอยู่  เช่น  ถ้าเป็นเครื่องแม่ข่ายของบริษัทผลิตรถยนต์  ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นต่างๆ ของบริษัทนั้นข้อมูลเกี่ยวกับการรับบริการต่างๆ  จากบริษัท  และอาจมีข้อมูลประเภทความรู้ที่เกี่ยวข้อง  เช่น ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของยานยนต์  เทคโนโลยีใหม่ๆ  เกี่ยวกับยานยนต์  มลพิษจากไอเสียของรถยนต์และวิธีบำบัดป้องกัน  วิธีการขับรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นต้น  หากเป็นเครื่องแม่ข่ายของบริษัทของบริษัทท่องเที่ยว  ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ  ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง  ข้อมูลเกี่ยวกับการขออนุญาตเข้าประเทศต่างๆ  เพื่อการท่องเที่ยว ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภาษา  ของประเทศนั้นๆ  เป็นต้น  ปัจจุบันนี้  ข้อมูลต่างๆ  เหล่านี้อยู่ในรูปแบบของเอกสาร  ที่มีการเชื่องโยงกันภายใต้มาตรฐาน   World Wide Web (หรือ  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  http  Hypertext  Transfer  Protocol)  เราเรียกแหล่งข้อมูล  แต่ละแห่งเหล่านี้  ว่า  เป็น เว็บไซต์  (Web Site)  ซึ่งแปลว่าแหล่งข้อมูลในระบบ  World Wide Web  นั่นเอง

ประเทศไทยเราก็ได้มีการจัดตั้งเว็บไซต์ขึ้นเป็นจำนวนมาก   ทั้งของภาครัฐและของภาคเอกชน  ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเว็บไซต์ที่คิดว่าจะมีประโยชน์สำหรับนักศึกษา โดยจะแยกกล่าวเป็นแต่ละประเภทของข้อมูลหลักในเว็บไซต์นั้นๆ

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)

 

           เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่ง  แต่มีข้อจำกัดตรงที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องมีอีเมลแอดเดรส  (email  address)  หลักการเช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ กล่าวคือผู้ส่งใช้โปรแกรมรับส่งอีเมล  เช่น ไมโครซอฟต์เอาต์ลุก (Microsoft Outlook)  หรือโปรแกรมเว็บเมล  (Web  mail)  เป็นต้น   โปรแกรมไมโครซอฟต์เอาต์ลุกปกติจะมากับชุดโปรแกรม  ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ  ใช้สำหรับรับส่งอีเมลได้ทุกกรณี  แต่ต้องมีการติดตั้ง (Set-up) ก่อนใช้จึงเป็นการไม่สะดวกนัก หากผู้ใช้ต้องการจะไปรับส่งอีเมลที่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นนอกจากเครื่องที่ตนใช้เป็นประจำ   วิธีการรับส่งแบบเว็บเมล  เป็นวิธีที่สะดวกกว่า เพียงแต่ผู้ใช้เข้าสู่อินเตอร์เน็ต  แล้วเข้าสู่เว็บไซต์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย  (Host)  ของอีเมลแอดเดรสที่ตนใช้อยู่  และเลือกคลิกที่ปุ่ม  e-mail  หรือ  Mail  โปรแกรมเว็บเมลซึ่งติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้นก็พร้อมที่จะทำงานทันที

คำแนะนำในการใช้ Google

 

1.  การค้นหาแบบง่าย

 

ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้อง  กับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง  2 - 3  คำ  ลงไป   แล้วกดแป้น   Enter   หรือคลิกที่ปุ่ม  Go  บนหน้าจอ  Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ  โปรแกรมค้นหาของ  Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไป  ดังนั้น ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก จำนวนเว็บเพจที่ค้นพบจะยิ่งลดจำนวนลง  เพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง

Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

           Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์)  หมายถึง  การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์  แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์  ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว  แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือ แม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียง กับห้องสมุดแบบดั้งเดิม  ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเหตุผลหลายประการ  ประการแรก  สิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วมีเป็นจำนวนมาก  หากจะนำมาดิจิไทซ์  (digitize) หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล  ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สอง  ผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน  ยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์  แต่เรื่องนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้  เมื่อคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาการของจอคอมพิวเตอร์ทำให้อ่านได้สบายตามากขึ้น สามารถอ่านได้ครั้งละนานๆ มากขึ้น ประการที่สาม ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ และวิธีการจัดการกับปัญหานี้  ในกรณีที่ต้องการแปลงสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่เป็นสารสนเทศแบบดิจิทัลเพื่อนำออกเผยแพร่  ยังไม่มีกฎหมายหรือหลักการที่เป็นสากลว่าด้วยเรื่องนี้   หากยังต้องอาศัยการตกลงกันเองระหว่างคู่กรณีเป็นรายๆ ไป ก็จะเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง  อย่างไรก็ตามการแปลงสิ่งพิมพ์เป็นสารสนเทศดิจิทัลนั้น  เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ  เพื่อการอนุรักษ์สิ่งพิมพ์เก่าๆไว้เอกสารที่เป็นกระดาษนั้น  หากจัดเก็บถูกวิธีอาจสามารถอยู่ได้นับพันปี  เช่น  เอกสารที่ทำด้วยกระดาษปาปิรัส สมัยอียิปต์หรือบาลิโลเนียยังมีหลงเหลือให้เห็นได้ตามพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ  ของโลก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  หนังสือหรือเอกสารที่เป็นกระดาษจะมีอายุใช้งานเพียง  100 -  200 ปีเป็นอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น  หนังสือเรื่อง  The Pilgrim Kamanita  ซึ่งเป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เสถียรโกศ  และนาคประทีป  นำมาแปลและเรียบเรียงเป็นฉบับภาษาไทย  ชื่อ กามนิต  วาสิฏฐี  นั้น ขณะนี้เหลืออยู่ที่  The British Museum ที่กรุงลอนดอนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น  และอยู่ในสภาพถูกเก็บตาย  เพราะกระดาษกรอบหมดแล้ว นำมาเปิดอ่านไม่ได้ เอกสารทำนองนี้ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก และต้องหาวิธีอนุรักษ์ไว้ให้ได้เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า  และบางอย่างเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ วิธีอนุรักษ์วิธีหนึ่ง คือ การนำมากราดตรวจ  หรือ  ถ่ายภาพหน้าต่อหน้า แล้วบันทึกใส่ซีดีรอม  (CD-ROM) ไว้  อย่างไรก็ตามซีดีรอมเองก็ไม่ได้มีอายุยืนยาวมากมายนัก  เชื่อกันว่าสามารถจะเก็บได้นาน 30 – 50 ปี เท่านั้น  แต่ถ้ามีการทำสำเนาก่อนที่ซีดีรอมแผ่นนั้นจะหมดอายุ ก็สามารถเก็บไปได้ตลอด  เพราะการทำสำเนาข้อมูลดิจิทัลนั้นจะได้สำเนาที่มีคุณภาพเท่าต้นฉบับดิจิทัล ไม่มีการเสื่อมลงทุกครั้งที่ทำสำเนาเหมือนระบบอนาลอค  ดังนั้น ห้องสมุดดิจิทัลจะสามารถให้บริการเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ   ที่มีอายุมากๆได้

ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้

 

           นับตั้งแต่มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในศตวรรษที่  18  อารยธรรมของมนุษย์  มีการบันทึกเพื่อถ่ายทอดแก่อนุชนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบ การแต่งหนังสือและการพิมพ์เผยแพร่  เป็นจำนวนครั้งละมากๆ ทำให้การเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตออกไปอย่างรวดเร็ว   ยิ่งกว่านั้นหนังสือยังเป็นสื่อที่สามารถอนุรักษ์ความรู้ไว้ได้เป็นเวลายาวนาน  มากกว่าความยืนยาวของชีวิตมนุษย์หลายสิบเท่า  ห้องสมุดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาหนังสือ  จึงมีการจัดการที่เป็นระบบ  ทำให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่าย  จึงเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก