วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้

 

           นับตั้งแต่มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในศตวรรษที่  18  อารยธรรมของมนุษย์  มีการบันทึกเพื่อถ่ายทอดแก่อนุชนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบ การแต่งหนังสือและการพิมพ์เผยแพร่  เป็นจำนวนครั้งละมากๆ ทำให้การเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตออกไปอย่างรวดเร็ว   ยิ่งกว่านั้นหนังสือยังเป็นสื่อที่สามารถอนุรักษ์ความรู้ไว้ได้เป็นเวลายาวนาน  มากกว่าความยืนยาวของชีวิตมนุษย์หลายสิบเท่า  ห้องสมุดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาหนังสือ  จึงมีการจัดการที่เป็นระบบ  ทำให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่าย  จึงเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก

           วิธีการที่ใช้กันในห้องสมุดต่างๆ  ทั่วโลกนั้น  เรียกว่าการจัดทำบัตรรายการ  และการกำหนดหมู่   เลขรหัส   สำหรับหนังสือแต่ละเล่มหรือเอกสารแต่ละชิ้น

 

             การกำหนดหมู่เลขรหัส  ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย  มีสองระบบ  ระบบแรก  เรียกว่า   ระบบดิวอี้  (Dewy Decimal System)  นิยมใช้กันตามสถาบันการศึกษา  ส่วนระบบที่สองเป็นระบบใหม่กว่า  เรียกว่า ระบบแอลซี  (Library of congress System)  เป็นระบบที่คิดขึ้นมาใช้สำหรับห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐ  ซึ่งเป็นห้องสมุดที่มีจำนวนหนังสือ  และเอกสารมากที่สุดในโลก  เหตุที่ต้องคิดหาระบบใหม่ขึ้นมาใช้นั้น ว่ากันว่าเพราะระบบดิวอี้ ดั้งเดิมมีความละเอียดไม่พอ   ไม่สามารถแยกประเภทของหนังสือบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดีพอ  อย่างไรก็ตาม   ระบบดิวอี้   ได้มีการพัฒนาขึ้นในเวลาต่อมา   จนในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมไม่แพ้ระบบแอลซี

 

            บัตรรายการสำหรับหนังสือแต่ละเล่มหรือเอกสารแต่ละชิ้นนั้น  จะระบุหมู่เลขรหัส   ชื่อหัวเรื่อง  (ชื่อหนังสือหรือเอกสาร)  ชื่อผู้แต่ง   ชื่อสำนักพิมพ์  ปี ค.ศ.  หรือ  พ.ศ.  ที่พิมพ์   และชื่อเมืองที่พิมพ์  และมักจะมีสาระสังเขปเป็นคำอธิบายสั้นๆ  เกี่ยวกับเนื้อหาที่บรรจุด้วย  นอกจากนี้จะมีข้อความหรือรหัสที่ระบุว่าหนังสือหรือเอกสารนั้นๆ  ถูกจัดเก็บอยู่ที่บริเวณใดในห้องสมุดนั้นบัตรรายการต่างๆ  จะถูกนำมาเรียงลำดับอักษร  ตามชื่อหัวเรื่องชุดหนึ่ง  แยกไว้ในตู้บัตรรายการ       คนละตู้กัน   ส่วนหนังสือและเอกสารต่างๆ   จะถูกจัดเก็บบนชั้นหนังสือ  โดยเรียงลำดับตามหมู่เลขรหัส

 

 

ตารางที่  1  หลักการกำหนดหมู่เลขรหัสในระบบ  Dewy Decimal System

 

 

  100  –  199   ปรัชญาและสาขาที่เกี่ยวข้อง   (Philosophy  and  Related  Disciplines)

   200  –  299   ศาสนา  (Religion)

   300  –  399   สังคมศาสตร์  (Social  Sciences)

   400  –  499   ภาษา (Language)

   500  –  599   วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Sciences)

   600  –  699   เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์  (Technology and Applied Sciences)

   700  –  799   ศิลปะ  (The  Arts)

   800  –  899  วรรณคดี  (Literature)

   900 – 999   ภูมิศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง  (Geography,  History,  and Related Disciplines)

 

ตารางที่ 2 หลักการกำหนดหมู่เลขรหัสในระบบ LC System

 

            ระบบ  LC System  จัดหมวดหมู่สิ่งพิมพ์ในห้องสมุด  โดยแบ่งประเภทตามสาขาความรู้ 21  สาขาและใช้อักษร  A  –  Z  (ยกเว้น  I,  O,  W,  X  และ  Y) แทนแต่ละสาขา  นอกจากนั้นยังมีการจัดแบ่งเป็นสาขาย่อยโดยใช้อักษรอีก  1  –  2 ตัว  และตัวเลขอีกจำนวนหนึ่งแทนสาขาย่อยนั้นๆ  อักษรที่แทนสาขาหลักมีความหมาย  ดังต่อไปนี้

 

   A  –  ทั่วไป

H – สังคมศาสตร์

Q – วิทยาศาสตร์

  B  –  ปรัชญา  จิตวิทยา  และศาสนา

J – การเมือง

R – แพทยศาสตร์

  C  –  ศาสตร์ข้างเคียงของประวัติศาสตร์

K – กฎหมาย

S – เกษตรศาสตร์

  D  –  ประวัติศาสตร์ทั่วไปและนอกสหรัฐฯ

L – การศึกษา

T – เทคโนโลยี

  E  –  ประวัติศาสตร์สหรัฐฯ

M – ดนตรี

U–วิทยาศาสตร์การทหาร

  F  –  ประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ท้องถิ่นและทวีปอเมริกา

N – ประณีตศิลป์

V – วิทยาการนาวี

P - ภาษาและรรณคดี

Z–บรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศวิทยา

G – ภูมิศาสตร์, มานุษยวิทยา, นันทนาการ

 

 

clip_image003[6]

ภาพแสดง  ตู้บัตรรายการและบัตรรายการ

 

             การค้นหาหนังสือที่ต้องการเริ่มจากการค้นหาบัตรรายการก่อน  โดยอาจค้นตามชื่อหัวเรื่องหรือค้นตามชื่อผู้แต่งก็ได้  แล้วอ่านดูสาระสังเขปว่าใกล้เคียงกับสิ่งที่ต้องการหรือไม่  หากเห็นว่าใกล้เคียงก็จดหมู่เลขรหัส  และบริเวณที่จัดเก็บไว้  เพื่อไปหาหนังสือ  หรือ  เอกสารนั้นบนชั้น ต่อไป

 

            ปัจจุบันนี้ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย  โดยการบันทึกข้อมูลบัตรรายการทั้งหมดลงในฐานข้อมูล  และใช้โปรแกรมพิเศษเพื่อเรียกข้อมูลออกมาแสดงผล  โปรแกรมดังกล่าว ช่วยให้การค้นหาหนังสือ หรือ เอกสารทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นโดยการเชื่อมโยงผ่าน คำสำคัญ (Key Word) ที่ปรากฏอยู่ในชื่อหัวเรื่อง หรือ  สาระสังเขป  เพียงแต่ผู้ค้นหาพิมพ์คำสำคัญลงไปในช่องที่กำหนด โปรแกรมแสดงผลก็นะจำข้อมูลตามบัตรรายการของหนังสือทุกเล่มที่เกี่ยวข้องออกมาแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์

 

            อย่างไรก็ตาม  ในช่วงเวลาประมาณ  100  ปีที่ผ่านมา  หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีออกมาเผยแพร่นั้น ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ขนานนามว่าเป็นการระเบิดของข้อมูลข่าวสาร  (Information Explosion) ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการจัดเก็บและการค้นหา  แม้จะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยแล้วก็ตาม

1 ความคิดเห็น:

  1. ตรวจแล้ว..เนื้อหาครอบคลุมใช้ได้ ควรเพิ่มเติมเนื้อหาบทความในgadget ทั้งสองด้านก็จะดีขั้น

    ตอบลบ