1. แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หลักการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในการทำงานต่างๆ เช่น นักศึกษาทำการบ้านหรือทำรายงานส่งอาจารย์ หรือ พนักงานบริษัทเตรียมการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ มักจะต้องมีการหาข้อมูลประกอบการทำงานนั้นๆ บางครั้งข้อมูลอาจเป็นเพียงข้อมูลง่ายๆ เช่น ราคาสินค้า อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น แต่บางครั้งอาจเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ต้องมีการวิเคราะห์ เช่น แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วง 1 – 2 ปี ซึ่งต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตประกอบด้วย ดังนั้นคำว่า ข้อมูลความรู้ในที่นี้ จะรวมหมายถึงตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และ / หรือ จัดหมวดหมู่แล้วซึ่งเรียก ว่า สารสนเทศ ตลอดจนถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีการวิเคราะห์ซึ่งควรจะเรียกได้ว่าความรู้ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถค้นหาได้จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต่อไปนี้เราจะใช้คำว่าข้อมูลในความหมายกว้างที่รวมทั้งข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ด้วย
หลักการค้นหาข้อมูล มีดังต่อไปนี้
1. ต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ คือ
1) รู้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร
2) รู้ว่าแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลนั้น น่าจะเป็นหน่วยงานใด
3) รู้ว่าสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น มีอะไรบ้าง
2. ต้องรู้จักวิธีเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ
3. ต้องรู้จักวิธีใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล หรือ เซิร์จเอ็นจิน (Search engine)
4. ต้องรู้จักใช้ดุลพินิจ ว่า
1) ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการหรือไม่
2) ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่
การค้นหาข้อมูล
1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย
นักศึกษาได้รู้จัก คำว่า “เครือข่าย” และได้ทราบว่าระบบโทรศัพท์เป็นเครือข่ายสื่อสาร อีกชนิดหนึ่ง คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่นำมาต่อเชื่อมกันสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้เป็นเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในฐานะเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ เมื่อผนวกกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ดังตัวอย่างที่นักศึกษาได้ศึกษา เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกอย่างที่ต้องการใช้ในการทำงานจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเครือข่ายประเภทต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรง
1.1 อินทราเน็ต (Intranet)
เป็นเครือข่ายภายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือ ข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน หรือ กระจายกันอยู่ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีสาขามากน้อยเพียงใด ตัวอย่างอินทราเน็ตขนาดใหญ่ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จำกัดซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก อินทราเน็ตประเภทนี้ จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก สามารถดูแลการดำเนินธุรกิจของสาขาต่างๆ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
1.2 เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)
เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กร เช่น เดียวกับอินทราเน็ต แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้ด้วย ตัวอย่างเครือข่ายแบบนี้ ได้แก่ เครือข่ายของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ที่มีร้านค้าวัสดุก่อสร้างต่างๆ เป็นสมาชิกของเครือข่ายด้วย เพื่อให้ร้านค้าเหล่านี้ สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและรับบริการอื่นๆ จากบริษัทโดย สื่อสารผ่านเครือข่ายนี้ปัจจุบันนี้ เครือข่ายเอกซ์ทราเน็ตได้ถูกนำมาใช้อย่างมากในการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory management) สำหรับแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ประเภท “ห้างลดราคา” (Discount Store) หรือ ซูปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ ที่มีสาขามาก แหล่งจำหน่ายสินค้าประเภทนี้ จะมีเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต ซึ่งบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายส่งสินค้ารายใหญ่ เป็นสมาชิกของเครือข่าย ข้อมูลสินค้าคงคลังจะเชื่อมโยนกับระบบการคิดเงิน ด้วยเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode) และการตัดสต๊อกโดยอัตโนมัติ เมื่อสินค้ารายการใดลดลงถึงระบบที่จะต้องสั่งเพิ่มแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปแจ้งบริษัทผู้ผลิตหรือขายส่งสินค้านั้นโดยอัตโนมัติ บริษัทนั้นก็จะนำสินค้ามาส่งได้ทันการ หากไม่มีระบบอัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว การบริหารสินค้าคงคลัง จะต้องใช้คนจำนวนมากและมีอัตราผิดพลาดสูง ในโรงงานอุสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็เช่นเดียวกัน การสั่งซื้อชิ้นส่วนที่นำมาประกอบรถยนต์หรือเครื่องรับโทรทัศน์ ก็ใช้วิธีบริหารสินค้าคลังผ่านระบบเอ็กซ์ทราเน็ต เช่นเดียวกัน ในบางกรณีบริหารสินค้าคงคลัง สามารถทำได้ด้วยประสิทธิภาพสูงมาก จนไม่ต้องมีคลังเก็บสินค้า (โกดัง) สำหรับตุนชิ้นส่วนเผื่อไว้ใช้ แต่ชิ้นส่วนต่าง ๆ จะถูกส่งมาถึงโรงงานก่อนขณะที่ต้องการใช้เพียงเล็กน้อย วิธีการบริหารการผลิตแบบนี้ เรียกว่า ระบบทำเวลาพอดี (Just-in-time system)
1.3 อินเทอร์เน็ต (Internet)
ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายส่วนบุคคล เนื่องจากมีเจ้าของและเจ้าของเป็นผู้กำหนดว่าใครบ้างสามารถเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้ (Private network) แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ ทุกคนที่อยากต่อเชื่อมกับเครือข่ายสามารถต่อเชื่อมได้ เพียงแต่ปฏิบัติตามกติกา ซึ่งมีคณะกรรมการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นผู้กำหนดอินเทอร์เน็ต จำเป็นแหล่งข้อมูลเปิดแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกที่มีข้อมูลสารพัดชนิด ทั้งที่มีประโยชน์ เช่น ข่าวสาร และสารความรู้ต่าง ๆ และสิ่งที่เป็นพิษและเป็นภัย เช่น ภาพลามกอนาจารและข้อมูลกรรมวิถีการผลิตอาวุธร้ายแรงหรือยาเสพติด เป็นต้น ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตบ้างส่วนให้เปล่า บ้างส่วนเสียค่าสมาชิกถึงจะเข้าได้ นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตปัจจุบัน ยังเป็นแหล่งซื้อขายสินและบริการ ซึ่งมีทั้งขายปลีกขายส่งและการประมูล การค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น เ รียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.4 รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 ประเภท ที่กล่าวแล้วเป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ดังนั้น รูปแบบของการนำเสนอของข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจึงอาจแตกต่างกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการเป็นสมาชิกในวงปิดอาจใช้รูปแบบและวิธีการของตัวเอง แต่ในกรณีเป็นเครือข่ายสาธารณะจะต้องใช้รูปแบบและวิธีการที่เป็นมาตรฐานสากล สำหรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน รูปแบบการนำเสนอข้อมูลและวิธีการเปลี่ยนข้อมูลที่แพร่หลายมาก จนกลายเป็นมาตรฐานไปแล้ว คือ รูปของ WWW ซึ่งมีอิทธิพลสูงมาก ทำให้เครือข่ายเกือบทุกประเภทเปลี่ยนมาใช้ตามเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้ใช้มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น